ประวัติโดยย่อ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ตั้งอยู่ที่ 147 อาคารชีวเกษตร ถนนมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร โดยแต่เดิมนั้นอยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหารรวมกัน จำนวน 81 โรง  ต่อมาเมื่อกระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ      เรื่อง การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 และมีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา     ส่งผลให้โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดมุกดาหารต้องแยกออกจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครพนมและมาอยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งหมด จำนวน 30 โรงเรียน โดยในระยะเริ่มแรกนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีคำสั่งแต่งตั้งนายเลียง ผางพันธ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนมุกดาหาร ให้มาปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร เป็นครั้งแรก โดยใช้อาคารชีวเกษตร ซึ่งเป็นอาคารที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของโรงเรียนมุกดาหารเป็นที่ตั้งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเป็นการชั่วคราว นายเลียง ผางพันธ์ ได้แต่งตั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาจากโรงเรียนต่างๆในสังกัดเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มงานและดำเนินงาน ต่าง ๆ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร รวมทั้งมีการร่วมกันระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหารในระยะเริ่มแรก

       ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีการเกลี่ยอัตรากำลัง โดยเริ่มมีเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติหน้าที่ในกลุ่มงานต่าง ๆ เป็นครั้งแรก และในวันที่ 27 สิงหาคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีคำสั่งแต่งตั้ง นางสุพร สามัตถิยะ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหารเป็นคนแรก และ แต่งตั้งนายธิติวัฒน์ พิไลวงศ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนโนนราษีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ให้มาดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหารเป็นคนแรก และแต่งตั้ง นายธีรภัทร วงษ์สว่าง ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนมให้มาดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ในเวลาต่อมา  

วิสัยทัศน์

องค์กรนวัตกรรม สร้างคุณภาพผู้เรียน สู่สังคมที่ยั่งยืน

พันธกิจ

    1. พัฒนาสถานศึกษาให้มีความปลอดภัยแก่ผู้เรียน
    2. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
    3. ประสานส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตร มีความเป็นไทยและมีคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21
    4. ประสานส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรมจริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    5. ส่งเสริม พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ 
    6. พัฒนาระบบบริหารจัดการแบบบูรณาการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา อย่างสร้างสรรค์ มีนวัตกรรมเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนบนฐานข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    7. ส่งเสริม พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมการบริหาร
    8. เสริมสร้างวัฒนธรรมการบริหารและมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในระดับองค์กร

กลยุทธ์

    1. ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ
    2. เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน
    3. ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
    4. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา

เป้าหมาย (Goals)

  1. ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการดูแลด้านความปลอดภัย และสามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ
  2. สถานศึกษา ได้รับการพัฒนาให้มีความปลอดภัย และจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. สถานศึกษา ได้รับการส่งเสริมให้มีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อความปลอดภัยของผู้เรียน
  4. ประชากรวัยเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับ ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคจนจบการศึกษาภาคบังคับ
  5. ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้รับการส่งเสริมให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  6. เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
  7. ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
  8. เด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะออกจากระบบการศึกษา เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน ได้รับการช่วยเหลือให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  9. ผู้เรียนทุกช่วงวัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ มีความรักและความภูมิใจในความเป็นไทย
  10. ผู้เรียนทุกช่วงวัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐาน สอดคล้องกับศักยภาพ ให้เป็นผู้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
  11. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมีสมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งจิตวิญญาณความเป็นครู
  12. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  13. สถานศึกษา มีระบบการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personalized Learning)
  14. สถานศึกษา สามารถจัดการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่นตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจของผู้เรียน
  15. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษามีการนำระบบข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
  16. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน
  17. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษามีการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท
  18. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษามีการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท
  19. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษามีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม ที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท
  20. โรงเรียนคุณภาพได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพที่เหมาะสมกับบริบท

ตัวชี้วัด

  1. ร้อยละของผู้เรียนที่มีความรู้ความเข้าใจในภัยคุกคาม รูปแบบใหม่ทุกรูปแบบ รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ในการดำเนินชีวิตวิถีใหม่และชีวิตวิถีถัดไป
  2. ร้อยละของผู้เรียนได้รับการศึกษาในสถานศึกษาที่มีความปลอดภัย
  3. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีแผน/มาตรการในการจัดการภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ รองรับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)
  4. ร้อยละของครู บุคลากรทางการศึกษา ดำเนินการตามแนวทางในการจัดการภัยพิบัติ และภัยคุกคามทุกรูปแบบ ให้สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ รองรับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)
  5. อัตราการเข้าเรียนสุทธิ (Net enrollment rate) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  6. จำนวนผู้เรียนที่เป็นผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษา และพัฒนาสมรรถภาพหรือบริการทางการศึกษาที่เหมาะสม ตามความจำเป็น
  7. ร้อยละของผู้เรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน
  8. ร้อยละของผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีขึ้นไป
  9. ร้อยละของผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
  10. ร้อยละของสถานศึกษาที่สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้รับการเตรียมความพร้อม (ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์) ในการประเมินระดับนานาชาติตามโครงการ PISA)
  11. ร้อยละของสถานศึกษาที่สามารถจัดการเรียนการสอนตามพหุปัญญา
  12. ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการคัดกรองเพื่อพัฒนาพหุปัญญารายบุคคล
  13. จำนวนผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพตามความถนัด และความสามารถ
  14. ร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ร้อยละ 50 ขึ้นไปเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา
  15. ร้อยละของครูสอนภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษา ได้รับการพัฒนาและยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้ระดับการพัฒนาทางด้านภาษา (CEFR) ตามเกณฑ์ที่กำหนด
  16. จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก
  17. ร้อยละของหน่วยงานและสถานศึกษามีระบบบริหารจัดการที่เป็นดิจิทัล
  18. ร้อยละของโรงเรียนคุณภาพ ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษาตามบริบทพื้นที่
  19. ร้อยละของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA online
  20. ร้อยละของสถานศึกษาและหน่วยงานใช้ระบบเชื่อมโยงข้อมูลในระบบแบบ Real Time
  21. จำนวนครั้งของประชาชนที่เข้าถึงหลักสูตร สื่อ แหล่งเรียนรู้ที่จัดการศึกษาในรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Lifelong learning)

กรอบในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา